ความหมายของนวัตกรรม
การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือการกระทำของตนเองใหม่ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือกล และเทคนิคต่างๆ ที่มี3ลักษณะประกอบกันได้แก่
1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (feasible idea)
2. จะต้องสามารถนาไปใช้ได้ผลจริง (practical application)
3. มีการเผยแพร่ออกสู่ชุมชน (Distribution)
ให้ความหมายของนวัตกรรม (innovation) ไว้ว่าเป็นการนาวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การ
1. คิดค้น(invention)
2. การพัฒนา(development) หรือ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (pilot project)
3. นาไปปฏิบัติจริง (implement)
ลักษณะของนวัตกรรม
1. นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง(Radical Innovation) หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริง สู่สังคม โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value), ความเชื่อ (belief )
2. นวัตกรรม ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เป็น ขบวนการการค้นพบ (discover) หรือ คิดค้นสิ่งใหม่(invent)โดยการประยุกต์ ใช้แนวคิดใหม่ (new idea) หรือ ความรู้ใหม่ (new knowledge) ที่มีลักษณะต่อเนื่องไม่สิ้นสุด โดยการประยุกต์ใช้ แนวคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ ของมนุษย์ และการค้นค้น
ประเภทของนวัตกรรม
1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) คือ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้นหรือเป็นสิ่ง ใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก, ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร
2. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เป็นการ เปลี่ยนแนวทาง หรือ วิธีการผลิตสินค้า หรือบริการ ให้การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เช่น การผลิตแบบทันเวลาพอดี
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้างและการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเองเทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนาไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไกเครื่องมือ
4. กรรมวิธีและวิธีดาเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5. ศิลปะและทักษะในการจาแนกและรวบรวมวัสดุ
ลักษณะของเทคโนโลยี
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น3ลักษณะ
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ( process)เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต(product)หมายถึงวัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต(process and product)เช่นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทางานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
ระดับของเทคโนโลยีสามารถแบ่งตามความรู้ที่ใช้ได้เป็น 3 ระดับ
1. เทคโนโลยีระดับพื้นฐาน (Basic Technology)
คือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ง่ายๆ ราคาไม่แพง หรือเป็นการนาเสนอวัสดุจากธรรมชาติมาใช้โดยตรง
2. เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology)
เป็นการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น มีขั้นตอนการทางานซับซ้อน มีการคำนวณและมีการวางเเผนในการทางานล่วงหน้าก่อนการทางาน
3. เทคโนโลยีขั้นสูง (High Technology)
เป็นงานที่ต้องอาศักความรู้ทางวิศวกรรม การศึกษา วิจัย และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านเฉพาะด้านขั้นสูง เช่น หุ่นยนต์ อาคารหรือตึกสูงๆ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่างๆ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น